top of page
Writer's pictureTeruth Anurakjaturong

ประเภทของ Solar Cell อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการติดตั้ง และประโยชน์ที่จะได้รับ

Updated: Sep 9, 2021

หลายคนคงเคยได้ยินและรู้จักกับ Solar Cell กันมาบ้าง วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังครับว่าประเภทของ Solar Cell ที่เค้าใช้กันนั้นมีแบบไหนบ้าง แล้วถ้าเราสนใจจะติดตั้ง Solar Cell ที่บ้านของเรานั้นจะต้องมีอุปกรณ์อะไร ต้องใช้งบประมาณเท่าไหร่ในการซื้ออุปกรณ์เหล่านั้นและทำการติดตั้ง รวมถึงคำถามที่หลายคนอาจจะสงสัยว่าติดตั้งไปแล้วจะช่วยลดค่าไฟฟ้า ได้มากน้อยแค่ไหน กี่ปีจะคืนทุน เราไปลองหาคำตอบเหล่านั้นได้จากในบทความนี้กันครับ

Solar Cell หรือมีอีกชื่อเรียกว่า Photovoltaic เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ ทันทีที่มีแสงตกกระทบบนแผ่นเซล รังสีของแสงที่เป็นโฟตอน (Photon) จะถ่ายเทพลังงานให้กับอิเล็กตรอน (Electron) เกิดการแยกประจุไฟฟ้าบวกและลบ ทำให้มีแรงดันไฟฟ้าที่ปลายขั้วทั้งสองของแผ่น Solar Cell เมื่อนำอุปกรณ์ไฟฟ้ามาต่อเข้าที่ขั่วไฟฟ้าจะเกิดการไหลของกระแสไฟฟ้า จึงทำให้ Solar Cell นั้นสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้

ที่มา: https://sandbarsc.com/news/how-do-solar-panels-work-step-by-step-guide/

ชนิดของ Solar Cell

1) Solar Cell ที่ทำจาก Silicon

1.1) ชนิดผลึกเดี่ยว (Single Crystalline Silicon Solar Cell) หรือเรียกอีกชื่อว่า Monocrystalline

Silicon Solar Cell

1.2) ชนิดผลึกรวม (Polycrystalline Silicon Solar Cell): ลักษณะเป็นแผ่นซิลิคอนแข็งและบางมาก

1.3) อะมอร์ฟัสซิลิคอน (Amorphous Silicon Solar Cell): ลักษณะเป็นฟิล์มบางเพียง 0.5 ไมครอน

น้ำหนักเบามาก แต่มีประสิทธิภาพเพียง 5-10%

2) Solar Cell ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำอื่นๆ เช่น แกลเลี่ยม, อาร์เซไนด์, แคดเมียม, เทลเลอไรด์, คอปเปอร์ และอินเดียม เป็นต้น มีทั้งผลึกชนิดเดี่ยว (Single Crystalline) และผลึกรวม (Polycrystalline Silicon) โดย Solar Cell ที่ทำจากแกลเลี่ยม อาร์เซไนด์ จะให้ประสิทธิภาพสูงถึง 20-25%

ที่มา: https://electricalacademia.com/renewable-energy

ระบบของ Solar Cell

1) ระบบ On-Grid: เป็นระบบพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และ Solar Cell จะทำการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าเลย นอกจากนี้ตัวระบบยังเชื่อมต่อกับระบบไฟของการไฟฟ้าฯ ทำให้ผู้ที่จะติดตั้งระบบนี้ต้องมีการขออนุญาตจากทางการไฟฟ้าฯ ก่อน

ที่มา: https://www.solaris.co.th/

2) ระบบ Off-Grid: เป็นระบบพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) และจัดเก็บพลังงานในแบตเตอรี่ หลังจากนั้นจึงมีการดึงพลังงานจากแบตเตอรี่จ่ายให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่อไป ซึ่งระบบนี้จะไม่มีการเชื่อมต่อกับระบบไฟของการไฟฟ้าฯ จึงไม่ต้องมีการขออนุญาตในการติดตั้งระบบ

ที่มา: https://www.solaris.co.th/

3) ระบบ Hybrid: เป็นระบบที่เกิดจากการรวมกันของระบบ On-Grid และ Off-Grid โดยจะมีการใช้พลังงานไฟฟ้าได้จากทั้ง Solar Cell เอง หรือพลังงานไฟฟ้าที่เก็บไว้ในแบตเตอรี่ นอกจากนี้ในกรณีที่มีการใช้ปริมาณไฟฟ้าจำนวนมาก ตัวระบบเองก็สามารถที่จะไปดึงไฟฟ้ามาจากระบบการจ่ายไฟของการไฟฟ้าฯ ได้อีกด้วย

ที่มา: https://www.solaris.co.th/

อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการติดตั้งในระบบ Solar Cell

1) แผงโซล่าเซลล์ (Solar Panel): ทำหน้าที่แปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า มีทั้งหมด 3 ประเภท ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว โดยกระแสไฟที่ได้จาก Solar Panel จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC)

2) คอนโทรลเลอร์ (Charge Controller): ทำหน้าที่ควบคุมการชาร์จไฟจาก Solar Panel มาเก็บไว้ที่แบตเตอรี่ รวมทั้งควบคุมการจ่ายไฟฟ้าให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าอีกด้วย

3) แบตเตอรี่ (Battery): ทำหน้าที่เก็บพลังงานไฟฟ้าที่ได้จาก Solar Panel โดยมีขนาดต่างๆในท้องตลาด เช่น 12 V/100 AH, 12V/350 AH เป็นต้น

4) อินเวอร์เตอร์ (Inverter): ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ เนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆนั้นจะต้องใช้ไฟฟ้ากระแสสลับในการทำงาน ยกตัวอย่างสเป็ค ดังนี้ Input: 12VDC, Output:220VAC/50Hz 1,000 Watt

5) อุปกรณ์มอนิเตอร์ระบบไฟฟ้า เช่น โวลต์มิเตอร์ (Voltmeter), แอมป์มิเตอร์ (Ampmeter) เป็นต้น

6) อุปกรณ์อื่นๆ เช่น สายไฟ, ฟิวส์, ตู้ควบคุม เป็นต้น

ที่มา: http://www.siamenergysaving.com/

คราวนี้ทุกคนพอจะเห็นภาพแล้วใช่ไหมครับ ว่าการติดตั้งระบบ Solar Cell นั้นจะต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง และมีหลักการทำงานอย่างไร แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงนั่นก็คือ ราคาค่าอุปกรณ์ในการติดตั้ง ซึ่งผมจะขอยกตัวอย่างราคาส่วนที่แพงสุดในระบบนั่นก็คือ Solar Panel ตามรูปด้านล่างนี้ครับ

ยกตัวอย่างเช่น บ้านของผม ค่าไฟ ประมาณ 3,000 บาท ต่อเดือน ถ้าทำการติดตั้งขนาด 3kWp ก็จะสามารถลดค่าไฟไปได้ถึงเดือนละ 2,000 บาท เลยทีเดียว หรือพูดง่ายๆคือเดือนนึงผมจ่ายค่าไฟเหลือแค่เดือนละ 1,000 บาท ด้วยงบประมาณในการลงทุน 150,000 บาท (เฉพาะค่า Solar Panel) ซึ่งถ้าคำนวณคร่าวๆ ก็จะเห็นได้ว่าระยะเวลาในการคืนทุนนั้นอยู่ที่ประมาณ 6 ปี ครับ หลังจากปีที่ 6 เป็นต้นไปก็ถือว่าเป็นกำไรในการติดตั้ง Solar Cell แล้วครับ ซึ่งโดยปกติอายุการใช้งานเฉลี่ยของแผง Solar Cell จะอยู่ที่ประมาณ 25-30 ปี ครับ


บทสรุปและวิเคราะห์

จะเห็นได้ว่าระบบ Solar Cell ในปัจจุบันนั้นต้นทุนในการติดตั้งมีราคาที่ถูกลง และยังสามารถติดตั้งได้ไม่ยากอีกด้วย นอกจากนี้พลังงานแสงอาทิตย์นั้นจัดว่าเป็นพลังงานสะอาดไม่ก่อให้เกิดมลพิษในระหว่างกระบวนการผลิตไฟฟ้า จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจไม่น้อยหากท่านผู้อ่านมองผลประโยชน์ที่จะได้รับในระยะยาว



แหล่งข้อมูลอ้างอิง


สนใจติดตั้ง Solar Cell ติดต่อได้ที่

062-246-9469

099-249-8979

222 views0 comments

Comentarios


bottom of page