top of page

Bidirectional Charging: รูปแบบการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต

Updated: Sep 9, 2021

สวัสดีครับคุณผู้อ่านทุกท่าน กลับมาพบกับผมเจ อีกเช่นเคยนะครับ วันนี้จะขอมาเล่าถึงเทคโนโลยีการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังถูกพัฒนาและได้เริ่มมีการทดลองใช้กันแล้วในต่างประเทศ นั่นก็คือ Bidirectional Charging หรือพูดให้เข้าใจง่ายขึ้น คือเป็นการชาร์จที่สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้ทั้ง 2 ทิศทาง ซึ่งโดยปกติแล้วเราจะใช้ EV Charger ในการแปลงกระแสไฟฟ้าจากไฟบ้านที่เป็น AC (กระแสสลับ) ให้เป็น ไฟ DC (กระแสตรง) และปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ตัวรถยนต์ไฟฟ้าใช่ไหมครับ แต่ในขณะเดียวกันถ้าเราสามารถที่จะดึงไฟฟ้าจากตัวรถผ่าน EV Charger กลับเข้าสู่ตัวบ้าน หรือ Grid (เครือข่ายการจ่ายไฟ) ได้ในบางช่วงเวลา ในช่วงเวลาที่ตัวบ้านหรือในเขตชุมชนของเรามีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง เทคโนโลยีนี้ก็จะสามารถทำให้เราช่วย Balance ไม่ให้การไฟฟ้าต้องผลิตกระแสไฟฟ้ามากจนเกินไป


ระบบ Bidirectional Charging นั้นเราสามารถจำแนก ออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1) V2G: Vehicle to Grid

ระบบ V2G นั้นจะทำงานผ่าน EV Charger ที่มีฟังก์ชัน Bidirectional Charging โดย EV Charger จะทำการแปลงไฟกระแสตรง (DC) จากรถให้เป็นไฟกระแสสลับ (AC) ซึ่งจะช่วยให้เกิดการ Balance Demand ในการใช้ไฟฟ้าได้ ยกตัวอย่างเช่น เราชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในตอนกลางคืน (Off Peak) และคืนกระแสไฟฟ้ากลับให้ Grid ในช่วงเวลาตอนกลางวันที่มี Demand การใช้ไฟฟ้าที่สูง (On peak)

นอกจากนี้ประโยชน์ที่เรายังได้คือ ถ้าเราใช้มิเตอร์แบบ TOU เรายังสามารถช่วยลดค่าไฟได้อีกด้วย เนื่องจากอัตราค่าไฟ ในช่วง Off Peak นั้นถูกกว่า ช่วง On Peak ถึงกว่า 2 เท่า ดังรูปด้านล่าง


2) V2H: Vehicle to Home

V2H นั้นจะมีความใกล้เคียงกับ ระบบ V2G คือต้องใช้ Bidirectional EV Charger เพื่อดึงกระแสไฟจากตัวรถจ่ายเข้าสู่ตัวบ้านนั่นเอง เราอาจใช้ V2G ในกรณีที่ไฟดับหรือในกรณีที่เรามีการใช้ไฟในบ้านปริมาณมากก็ได้เช่นกัน ซึ่งวิธีการนี้รถยนต์ไฟฟ้าของเราจะทำตัวเหมือนเป็นแบตเตอรี่ให้กับบ้านของเรานั่นเอง นอกจากนี้ถ้าบ้านของเราติดตั้ง Solar Cell ไว้อยู่แล้วอาจจะช่วยลดค่าไฟไปได้อีก เนื่องจากในตอนกลางวันเราก็ใช้ไฟจาก Solar Cell ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของเราได้ ส่วนในตอนกลางคืนเราก็สามารถปล่อยกระแสไฟจากรถยนต์ไฟฟ้ากลับเข้าสู่ตัวบ้านได้เช่นกัน


ทั้งระบบ V2G และ V2H ต่างก็มีข้อดี แต่ก็มีข้อจำกัดต่างๆที่เราจะต้องคำนึงถึงดังนี้

1) ขนาดแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าจะต้องมีขนาดใหญ่ที่มากพอ

วัตถุประสงค์หลักของรถยนต์ก็คือเพื่อใช้ในการเดินทาง ถ้าเราต้องนำพลังงานในบางส่วนมาเพื่อใช้กับเทคโนโลยี V2G และ V2H จะต้องมีพลังงานเหลือที่เพียงพอกับการใช้งานทั้งสองฟังก์ชัน ให้ไม่กระทบกับใช้เดินทาง

2) ต้องติดตั้ง EV Charger ที่รองรับระบบ Bidirectional

ปัจจุบันเราคงคุ้นเคยกับ Smart EV Charger กันมากขึ้น ซึ่งเป็น EV Charger ที่สามารถควบคุมหรือตั้งเวลาการทำงาน ผ่าน Application ได้ แต่ Bidirectional EV Charger เริ่มมีผู้ผลิตบางรายเริ่มเปิดตัวออกมาให้เห็นกันบ้างแล้ว แต่ปัจจุบันยังมีราคาที่สูงอยู่


3) รถยนต์ไฟฟ้าต้องรองรับระบบ V2G หรือ V2H

ภายในตัวรถยนต์ไฟฟ้าจะมีอุปกรณ์หนึ่งที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการแปลงกระแสไฟจาก AC เป็น DC หรือจาก DC เป็น AC ซึ่งนั่นก็คือ On Board Charger (OBC) นั้นจะต้องมีการรองรับฟังก์ชันการทำงานนี้ด้วยเช่นกัน


ซึ่งนอกจากนี้หน่วยประมวลผลในตัวรถ (Vehicle Control Unit; VCU) ต้องถูกออกแบบมาให้สามารถที่จะทำงานฟังก์ชันดังกล่าวได้ด้วย


วิเคราะห์และสรุป

ในอนาคตอันใกล้นี้ รถยนต์ไฟฟ้า จะไม่ได้ทำหน้าที่เพียงแต่เป็นยานพาหนะ ที่ใช้ในการเดินทางเพียงเท่านั้น แต่ยังสามารถที่จะช่วยทำให้เราบริหารการใช้ไฟฟ้าในประเทศได้ดียิ่งขึ้น ด้วยระบบ V2G และ V2H แต่อย่างไรก็ตามเมื่อหันกลับมามองที่ประเทศไทยในปัจจุบันนั้น นับว่ากระแสของรถยนต์ไฟฟ้านั้นอนยู่ในช่วงของการเริ่มต้นเท่านั้น ซึ่งจะต้องอาศัยนโยบายการสนับสนุนที่จริงจังจากทาง

ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทางผมและทีมงานก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะได้ใช้เทคโนโลยีนี้ในอนาคตอันใกล้ และพบเจอกันใหม่ในบทความหน้าครับ


แหล่งข้อมูลอ้างอิง:


ช่องทางในการติดต่อกับทีมงาน

Line ID:@228tslca


803 views0 comments
bottom of page